Responsive Image
บทความ เครื่องวัดสิ่งแวดล้อม | เครื่องวัดอเนกประสงค์

ฝุ่นละอองPM2.5(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron)

14/04/68 02:23 น.

#เครื่องวัดฝุ่น #ละอองฝุ่น #PM2.5

ฝุ่นละอองPM2.5(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron)

ฝุ่นละออง PM2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron) ตัวฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ทำให้สามารถเข้าไปถึงทางเดินหายใจ ส่วนที่เล็กที่สุดของปอดผ่านถึงระบบหัวใจหลอดเลือดได้ จึงทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพ ก่อให้เกิดการระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หอบหืด หัวใจวายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองตีบ และที่อันตรายที่สุดอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งปอด

ค่ามาตรฐาน PM2.5 

 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 66 เป็นต้นไป ค่ามาตรฐานใหม่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ถูกปรับให้มีความเข้มข้นขึ้น จากเดิมต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ถูกปรับลงมา จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. สำหรับค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี  จาก 25 มคก./ลบ.ม. ถูกปรับลงมา จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา

ฝุ่นละอองPM2.5(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron)


กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองPM2.5

เด็ก

อาจกล่าวได้ว่ายิ่งอายุน้อย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายยังอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้ฝุ่นพิษในอากาศที่สามารถเข้าสู่ระทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่ายจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของระบบต่างๆ หรือทำให้เกิดโรคร้ายแรงในที่สุด

หญิงมีครรภ์

นอกจากภัยร้ายส่งผลต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดฝุ่นละอองโดยตรงแล้ว ทารกในครรภ์ยังเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน มีการศึกษาพบว่ามลพิษในอากาศมีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงแท้งบุตร และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์ได้

ผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะเริ่มเสื่อมถอย ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายลดลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลงดลง หากต้องเผชิญกับฝุ่นละออง อาจมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหอบหืด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญฝุ่นพิษให้มากที่สุด

ผู้ป่วยหรือมีโรคประจำตัว

โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคปอด และโรคหัวใจชนิดต่างๆ การสูดฝุ่นผงเข้าสู่ร่างกายโดยตรงส่งผลให้โรคกำเริบ อาจถึงกับชีวิตได้

แนวทางการป้องกันฝุ่น PM2.5

● ควรงดออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วงที่มีภาวะหมอกควันและฝุ่นสูง เนื่องจากการใช้แรงมากหรือการหายใจแรง อาจยิ่งเพิ่มการสูดเอาละอองฝุ่น PM2.5เข้าสู่ทางเดินหายใจและปอดมากขึ้น

● ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้คือ หน้ากากอนามัย N95

● การทำความสะอาดบ้านเพื่อลดความเข้มข้นของฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆแทนการใช้ไม้กวาดที่ทำให้ฝุ่น ฟุ้งกระจาย

● ลดการเผา ลดการใช้รถยนต์ เปลี่ยนมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ

ฝุ่นละอองPM2.5(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron)




Mr. Thanasarn Phuangmaprang
Service Section
ข้อมูลในหน้านี้ถูกต้องและเป็นประโยชน์หรือไม่?
;