มลภาวะทางเสียงที่ส่งผลต่อการทำงาน
มลภาวะทางเสียง,ค่าเสียงมาตรฐาน,ค่าเสียงในพื้นที่ทำงาน,เครื่องวัดเสียง
"เสียง" เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ สื่อสารและเข้าใจ รับรู้ได้โดยผ่านการทำงานของระบบประสาทการได้ยินร่วมกับสมอง ซึ่งที่มาของเสียง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งเสียงที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการประกอบกิจกรรมต่างๆรอบตัวของมนุษย์ สำหรับในการทำงานแล้ว การควบคุมระดับเสียงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพของชิ้นงานและตัวบุคลากร
Index
เสียงสำคัญอย่างไร
"เสียง" ที่อยู่รอบตัวเรา สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายแหล่งกำเนิด ทั้งเสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงของลมพัด, ฝนตก/ฟ้าผ่า, เสียงจากสัตว์เลี้ยง หรือเสียงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น เสียงจากการพูดคุย, การเล่นดนตรี, เสียงเครื่องยนต์จากการสัญจร, เสียงการใช้เครื่องมือ-เครื่องจักรในพื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งเสียงเหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ สื่อสารและเข้าใจ รับรู้ได้โดยผ่านการทำงานของระบบประสาทการได้ยินร่วมกับสมอง
หน่วยของเสียง
เดซิเบล (decibel, dB ) คือ หน่วยที่ใช้ในการวัดความเข้มของเสียง โดยเริ่มจาก 0 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด
ระดับของเสียงในชีวิตประจำวัน
ตารางแสดงตัวอย่างระดับของเสียงที่เกิดขึ้นได้รอบตัวในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งโดยปกติแล้วเสียงที่มนุษย์สามารถได้ยินและยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย คือ 75-80 เดซิเบล หากเราได้ยินเสียงที่ดังเกินกว่าระดับข้างต้น อาจส่งผลให้มีอาการหูอื้อชั่วขณะ หากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็สามารถเกิดการเสื่อมสภาพของระบบการได้ยินและส่งผลเสียทำให้การได้ยินนั้นมีประสิทธิภาพลดน้อยลง
ระดับของเสียงในการปฏิบัติงาน
ในระหว่างการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเสียงใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นและดังเกินกว่า 80 เดซิเบล นานเกิน 8 ชั่วโมง จะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินโดยตรง ดังนั้น กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่างๆไว้ ดังนี้
• ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล
• ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล
• ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล
• ในระดับเสียงที่เกิน 140 เดซิเบล ประสาทหูไม่ควรได้ยินในทุกกรณี
หลักการเลือกซื้อเครื่องมือ
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานตามที่กำหนด สถานประกอบการจึงจำเป็นต้องควบคุมระดับเสียงในพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องวัดเสียง (Sound Level Meter) ที่ได้คุณภาพและให้ผลการวัดที่แม่นยำ โดยมีหลักการที่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อเบื้องต้น ดังนี้
ข้อควรรู้ก่อนการเลือกซื้อ
• พิจารณาจากพื้นที่และจุดประสงค์ที่ต้องการนำไปใช้งาน ซึ่งตัวเครื่องนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 Class โดยจำแนกตามความสามารถในการวัด
Class 1 : เหมาะสำหรับการนำไปใช้ตรวจสอบงานอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม หรือใช้ในงานห้องปฏิบัติการ โดยค่าที่ได้จะมีความแม่นยำสูง
Class 2 : เหมาะสำหรับนำไปใช้ตรวจวัดการควบคุมเสียงรบกวนในโรงงาน, ธุรกิจหรือหน่วยงาน ซึ่งค่าความแม่นยำที่ได้อาจจะน้อยกว่า Class1
• ค่าความแม่นยำ (Accuracy) หรือค่าความคลาดเคลื่อน ถ้ายิ่งมีค่าน้อย ผลการตรวจวัดที่ได้ก็จะยิ่งใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานที่กำหนด
• ฟังก์ชั่นการใช้งานที่จำเป็นและครอบคลุม ตรงตามความต้องการ เช่น การบันทึกค่าการวัด, การแสดงค่า Maximum และ Minimum เป็นต้น
• การส่งสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เพื่อเป็นการยืนยันว่าเครื่องมือที่ใช้นั้น ยังมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน และได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำ
บทสรุป
เนื่องจาก "เสียง" จะเป็นสื่อสำคัญในการพูดคุยสื่อสารแล้ว ในการปฏิบัติงานท่ามกลางมลภาวะทางเสียงที่มาจากสาเหตุต่างๆ เช่น เสียงเครื่องจักร, เสียงจากการสัญจร หรืออื่นๆ ที่ส่งเสียงดังในระดับที่เกินมาตรฐานจนเป็นอันตรายต่อการได้ยิน จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเสียสมาธิและประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้เช่นกัน ดังนั้น การควบคุมระดับเสียงให้อยู่ในเกณฑ์ควบคู่ไปกับการกำหนดชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ส่วนหนึ่งก็เพื่อสุขภาพของบุคลากรและคุณภาพงานที่ออกมาดีนั่นเอง