ค่ามาตรฐานความเข้มของแสงสว่างในการทำงาน
ค่าแสงมาตรฐาน,ความเข้มของแสง,ค่าแสงในที่ทำงาน,เครื่องวัดแสง
"แสงสว่าง" ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งที่เป็นแสงที่มาจากธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ต่างล้วนถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ, การเดินทาง, การทำกิจกรรมต่างๆ, การเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ รวมไปถึงการปฏิบัติงานในแต่ละประเภทงานหรืออุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้มีประกาศ "มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง" เพื่อกำหนดใช้และเป็นแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปในในทิศทางเดียวกัน
Index
ความสำคัญของแสง
แสงสว่างที่อยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน มีทั้งที่เป็นแสงที่มาจากธรรมชาติ เช่น แสงแดดจากดวงอาทิตย์ และแสงประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงจากดวงโคมหรือหลอดไฟ ต่างล้วนถูกนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันในหลายๆด้าน ไม่เพียงแต่มนุษย์ที่ได้ใช้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการในการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ที่ต้องใช้แสงสว่างด้วยเช่นเดียวกัน
แสงสว่างในการปฏิบัติงาน
ในชีวิตประจำวัน แสงสว่างถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ที่ส่งผลในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ, ความเป็นอยู่, การเดินทาง, การทำกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการปฏิบัติงานในแต่ละประเภทงานหรืออุตสาหกรรมต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ประโยชน์จากแสงสว่างทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้มีประกาศ "มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง" เพื่อกำหนดใช้และเป็นแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปในในทิศทางเดียวกัน
ความเข้มของแสงสว่าง คืออะไร?
“ความเข้มของแสงสว่าง” หมายความว่า ปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยตารางเมตร ซึ่งตามในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะใช้หน่วยความเข้มของแสงสว่างเป็น ลักซ์ (lux)
ความหมายของ ลูเมน และ ลักซ์
• ลูเมน (lumen) คือ หน่วยวัดความสว่างของหลอดไฟ โดยถ้าหากมีค่ามาก ค่าความสว่างที่ได้ก็จะมากขึ้น และจะให้แสงสว่างที่ชัดเจนในพื้นที่นั้นๆ
• ลักซ์ (Lux) คือ ค่าความส่องสว่างที่กระทบลงบนวัตถุ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร (lm/m²) โดยหลอดไฟที่มีค่าวัตต์สูง (watt) ก็จะใช้พลังงานและค่าไฟที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย
ค่ามาตรฐานความสว่างที่เหมาะสม
ตารางแสดงมาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ
ข้อมูลอ้างอิงจาก : กฎหมายค่ามาตรฐานความเข้มแสงสว่าง (Lux Output)
หลักการเลือกซื้อเครื่องมือ
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด ทางสถานประกอบการควรตรวจสอบและควบคุมแสงสว่างในแต่ละพื้นที่การทำงานให้เหมาะสม ด้วยการเลือกใช้เครื่องมือวัดได้มาตฐานและมีประสิทธิภาพในการตรวจวัดสูง และในบางรุ่นยังสามารถสอบเทียบกับสถาบันการสอบเทียบเครื่องมือได้ ซึ่งจะเป็นการยืนยันได้ว่า เครื่องมือที่เราใช้นั้นยังสามารถตรวจวัดได้แม่นยำอยู่หรือไม่
ข้อควรรู้ก่อนการเลือกซื้อ
• สำรวจพื้นที่และลักษณะการทำงานที่เกิดขึ้นจริงภายในสถานประกอบการ
• ตรวจสอบช่วงการวัดจากพื้นที่ที่ต้องการ โดยสามารถอ้างอิงได้จากมาตรฐานที่กำหนด
• เลือกเครื่องมือวัดที่สามารถครอบคลุมช่วงการวัดได้กว้าง (Range) เพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายพื้นที่
• ควรคำนึงถึงค่าความแม่นยำ (Accuracy) หรือค่าความคลาดเคลื่อนที่ควรน้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลที่ใกล้เคียงกับค่ามาตรฐาน
• วัสดุของตัวเครื่อง, ฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่ตรงตามความต้องการและสามารถนำไปใช้งานได้จริงในสภาพแวดล้อมที่หน้างาน
• การส่งสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เพื่อเป็นการยืนยันว่าเครื่องมือที่ใช้นั้น ยังมีประสิทธิภาพในการตรวจวัด ตรงตามมาตรฐาน และได้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น แบรนด์ HIOKI มาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น รุ่นที่แนะนำคือ FT3424 และ FT3425 ซึ่งทั้ง 2 รุ่นนี้มีช่วงการวัดที่กว้างถึง 200,000 Lux มาพร้อมฟังก์ชั่นการวัด Auto/Manua ที่ช่วยตอบโจทย์การทำงานให้ง่ายขึ้น และยังสามารถส่งสอบเทียบเพื่อยืนยันความสามารถในการสอบกลับของเครื่องมือได้อีกด้วย
บทสรุป
จะเห็นได้ว่า ในแต่ละลักษณะงานหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆมีความแตกต่างกัน ปริมาณหรือความเข้มของแสงสว่างก็แปรผันตามไปด้วย เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน "แสงสว่าง" จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยและตัวแปรสำคัญในอันดับต้นๆที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ เพราะหากในแต่ละพื้นที่ได้รับแสงสว่างที่น้อยเกินไป หรือมากไปจนเกินความจำเป็น ก็อาจส่งผลเสียต่อบุคลากรที่ทำหน้าที่อยู่ในบริเวณนั้นๆได้โดยตรง ทั้งยังรวมไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน และปัญหาสุขภาพที่จะอาจเกิดขึ้นตามมาด้วย