Responsive Image
บทความ เครื่องวัดสิ่งแวดล้อม | เครื่องวัดอเนกประสงค์

ฝุ่นละอองPM2.5(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron)

เครื่องวัดฝุ่น,ละอองฝุ่น,PM2.5

ฝุ่นละอองPM2.5(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron)

ฝุ่นละออง PM2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron) ตัวฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ทำให้สามารถเข้าไปถึงทางเดินหายใจ ส่วนที่เล็กที่สุดของปอดผ่านถึงระบบหัวใจหลอดเลือดได้ จึงทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพ ก่อให้เกิดการระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หอบหืด หัวใจวายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองตีบ และที่อันตรายที่สุดอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งปอด

เพิ่มคำถาม

Index

    ค่ามาตรฐาน PM2.5 

     ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 66 เป็นต้นไป ค่ามาตรฐานใหม่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ถูกปรับให้มีความเข้มข้นขึ้น จากเดิมต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ถูกปรับลงมา จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. สำหรับค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี  จาก 25 มคก./ลบ.ม. ถูกปรับลงมา จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา

    ฝุ่นละอองPM2.5(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron)


    กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองPM2.5

    เด็ก

    อาจกล่าวได้ว่ายิ่งอายุน้อย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายยังอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้ฝุ่นพิษในอากาศที่สามารถเข้าสู่ระทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่ายจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของระบบต่างๆ หรือทำให้เกิดโรคร้ายแรงในที่สุด

    หญิงมีครรภ์

    นอกจากภัยร้ายส่งผลต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดฝุ่นละอองโดยตรงแล้ว ทารกในครรภ์ยังเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน มีการศึกษาพบว่ามลพิษในอากาศมีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงแท้งบุตร และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์ได้

    ผู้สูงอายุ

    เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะเริ่มเสื่อมถอย ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายลดลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลงดลง หากต้องเผชิญกับฝุ่นละออง อาจมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหอบหืด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญฝุ่นพิษให้มากที่สุด

    ผู้ป่วยหรือมีโรคประจำตัว

    โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคปอด และโรคหัวใจชนิดต่างๆ การสูดฝุ่นผงเข้าสู่ร่างกายโดยตรงส่งผลให้โรคกำเริบ อาจถึงกับชีวิตได้

    แนวทางการป้องกันฝุ่น PM2.5

    ● ควรงดออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วงที่มีภาวะหมอกควันและฝุ่นสูง เนื่องจากการใช้แรงมากหรือการหายใจแรง อาจยิ่งเพิ่มการสูดเอาละอองฝุ่น PM2.5เข้าสู่ทางเดินหายใจและปอดมากขึ้น

    ● ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้คือ หน้ากากอนามัย N95

    ● การทำความสะอาดบ้านเพื่อลดความเข้มข้นของฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆแทนการใช้ไม้กวาดที่ทำให้ฝุ่น ฟุ้งกระจาย

    ● ลดการเผา ลดการใช้รถยนต์ เปลี่ยนมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ

    ฝุ่นละอองPM2.5(Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron)




    สินค้าที่เกี่ยวข้อง

    Information in this page was accurate and useful?
    ;