Responsive Image
บทความ เครื่องมือวัดและทดสอบทางไฟฟ้า
บทความ ปากกาวัดไฟ

คำแนะนำและการใช้งานไขควงวัดไฟ อย่างถูกต้องและปลอดภัย

คำแนะนำและการใช้งานไขควงวัดไฟ อย่างถูกต้องและปลอดภัย,ไขควงลองไฟ,ไขควงวัดไฟ,การเชคไฟ,ไขควงเชคไฟ,ไขควงเชคไฟรั่ว

คำแนะนำและการใช้งานไขควงวัดไฟ อย่างถูกต้องและปลอดภัย

คำแนะนำและการใช้งานไขควงวัดไฟ อย่างถูกต้องและปลอดภัย เนื่องจากไขควงวัดไฟนั้นเป็นเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่างมีไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าอยู่หรือไม่ และยังสามารถใช้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์มีไฟรั่วหรือไม่ได้ด้วย

เพิ่มคำถาม

Index

    คำแนะนำและการใช้งานไขควงวัดไฟ อย่างถูกต้องและปลอดภัย เนื่องจากไขควงวัดไฟนั้นเป็นเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่างมีไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าอยู่หรือไม่ และยังสามารถใช้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์มีไฟรั่วหรือไม่ได้ด้วย 

    การทำงานของไขควงวัดไฟ

    ไขควงแบบธรรมดาที่เราใช้งาน และเห็นทั่วๆไป ภายในจะประกอบไปด้วยหลอดไฟต่ออยู่กับตัวต้านทานค่าสูง โดยตัวต้านทานจะมีหน้าที่จำกัดปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่จไฟผ่านหลอดไฟ และร่างกายเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย ซึ่งเมื่อไปสัมผัสหรือแตะกับส่วนที่มีไฟจะเป็นการทำให้ไฟฟ้าครบวงจร โดยไฟฟ้าจะไหลจากปลายของไขควงผ่านมายังหลอดไฟ ตัวต้านทาน นิ้ว แขน ร่างกายลงไปสู่พื้นที่เรายืนอยู่ และหลอดไฟก็จะสว่างขึ้นเมื่อถึงระดับของแรงดันไฟฟ้าพิกัดที่หลอดไฟจะสว่างนั้นเอง

    การเลือกไขควงวัดไฟ

    ในการเลือกไขควงวัดไฟเราควรเลือกให้เหมาะสมกับไฟฟ้าที่จะใช้ ทั้งชนิดของไฟฟ้า และขนาดแรงดันของไฟฟ้า

         1. ชนิดของไฟฟ้าที่จะนำไขควงวัดไฟไปใช้งาน

              ชนิดของไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้

              1. ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) จะอยู่ในงานวงจรอิเล็กทรอนิกส์, แบตเตอรี่ เป็นต้น

              2. ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current) จะอยู่ในไฟบ้าน ไฟฟ้าที่มาจากการไฟฟ้า เป็นต้น

         2. ขนาดแรงดันไฟฟ้าที่จะนำไขควงวัดไฟไปใช้งาน

               ขนาดของแรงดันไฟฟ้าต้องพอเหมาะ ไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไป หากเลือกไขควงที่แรงดันต่ำอาจไวดี แต่จะไม่ปลอดภัยเพราะผู้ใช้งานจะรู้สึกว่ามีไฟรั่วผ่านไขควงมากเวลาสัมผัส เช่นไฟฟ้าตามบ้านใช้ไฟฟ้าที่แรงดัน 200 ถึง 250 โวลต์ แต่ใช้ไขควงสำหรับงานที่มีแรงดัน 80 ถึง 125 โวลต์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลของแรงดันที่ตัวไขควงรองรับนั้นจะอยู่ในตัวของ Specification ของสินค้านะครับ (ตัวอย่างตามภาพด้านล่าง : รองรับการใช้งานกับ ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current) และขนาดของแรงดันไฟฟ้าที่ 40 ถึง 600 โวลต์)


    คำแนะนำและการใช้งานไขควงวัดไฟ อย่างถูกต้องและปลอดภัย


    ข้อควรระวังขณะใช้ไขควงวัดไฟ

    ระวังอย่าให้นิ้วแตะหรือสัมผัสไขควงในส่วนที่เปลือย ควรใช้ไขควงที่มีการหุ้มฉนวนให้เหลือเฉพาะส่วนปลายที่จะใช้สัมผัส หรือหากไม่มีอาจจะใช้เทปพันสายไฟพันให้รอบก็ได้ เพื่อช่วยลดหรือป้องกันอุบัติเหตุการเกิดลัดวงจรจากการใช้ไขควงที่ไม่ระมัดระวังด้วย

    การใช้งานไขควงวัดไฟที่ถูกวิธี

    โดยปกติไขควงวัดไฟทั่วไป มักจะมีปุ่มด้านบนหรือเป็นแบบคลิปหนีบปากกาไว้สำหรับให้ใช้นิ้วแตะเพื่อให้ไฟไหลครบวงจรผ่านร่างกาย และหลอดไฟจึงจะติดแดงขึ้นมา การใช้งานไขควงวัดไฟที่ถูกวิธีนั้น ให้เอาปลายไขควงแตะกับวัตถุที่จะทำการทดสอบก่อน แล้วจึงใช้นิ้วแตะปุ่มด้านบนหรือตรงบริเวณคลิปหนีบเพื่อให้ครบวงจร และต้องไม่ยืนอยู่บนพื้นฉนวน หรือใส่รองเท้า เพราะหลอดไฟของไขควงอาจจะไม่ติด ทำให้เข้าใจผิดว่าอาจจะไม่มีไฟรั่วก็ได้ ไขควงวัดไฟที่ไม่มีการใช้งานมานานหลอดไฟของไขควงและตัวต้านทานภายในของไขควงอาจจะมีการชำรุดใช้งานไม่ได้ (เช่น หลอดไฟไขควงไม่ติด) หรือหากเป็นไขควงวัดไฟแบบดิจิทัตัวไฟแสดงผลอาจจะไม่ทำงาน ดังนั้นก่อนใช้งานควรทดสอบไขควงวัดไฟเสียก่อนว่ายังสามารถใช้งานได้อยู่หรือไม่ โดยการทดสอบกับส่วนที่มีไฟแน่นอน ตัวอย่างเช่นใช้ไขควงวัดไฟแหย่เข้าไปในรูเต้ารับที่ผนังไฟบ้านที่มีไฟ ซึ่งในรูเต้ารับที่ผนังจะมีเพียงรูเดียวเท่านั้นที่มีไฟนั้นเอง

    ข้อควรระวังขณะแหย่ไขควงวัดไฟ

    ขณะแหย่ต้องระมัดระวังอย่าให้ปลายไขควงวัดไฟไปแตะส่วนอื่นที่เป็นขั้วไฟคนละขั้วพร้อมกัน เช่น ขั้วไฟต่างเฟส หรือขั้วที่มีไฟแตะกับขั้วดิน หรือนิวทรัล เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่แคบๆ เพราะหากเป็นเช่นนั้น หมายถึงการทำให้เกิดการลัดวงจร และจะมีประกายไฟที่รุ่นแรงพุ่งเข้าสู่ใบหน้าหรือดวงตาได้

    ห้ามซ่อมหรือดัดแปลงไขควงวัดไฟ

    ห้ามซ่อมหรือดัดแปลงไขควงวัดไฟที่ชำรุดเป็นอันขาด เช่น การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน หรือต่อตรงความต้านทาน เป็นต้น

    ห้ามนำไขควงวัดไฟไปใช้ทดสอบกับไฟฟ้าที่ไม่รู้ค่าแรงดัน

    การนำไขควงวัดไฟไปใช้งานโดยไม่ทราบค่าแรงดันในจุดที่ต้องการวัดค่า อาจจะส่งผลทำให้ไขควงวัดไฟเกิดการเสียหายและไม่ปลอดภัยกับผู้ใช้งานได้ และไม่ควรใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง

    รายการสินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทความ

    แหล่งที่มาของข้อมูล: การไฟฟ้านครหลวง

    😄 ทางเราขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านบทความ และสนใจในบทความของทางเราเป็นอย่างสูง หากมีข้อมูลหรือเรื่องใดที่ต้องการให้ทางเราช่วยและนำสามารถเขียนส่งคำถามหาเราได้เลยนะครับ ทางเราจะหาความรู้มาฝากทุกๆท่านครับ

    สินค้าที่เกี่ยวข้อง

    Information in this page was accurate and useful?